วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ประโยชน์ของตะไคร้

ตะไคร้ สรรพคุณและประโยชน์ของตะไคร้ 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตะไคร้

ตะไคร้

ตะไคร้ ชื่อสามัญ Lemongrass
ตะไคร้ ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf จัดอยู่ในวงศ์หญ้า (POACEAE หรือ GRAMINEAE)
ตะไคร้จัดเป็นพืชล้มลุกตระกูลหญ้า ใบมีลักษณะเรียวยาว ปลายใบมีขนหนาม เป็นสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาประกอบอาหาร โดยตะไคร้แบ่งออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ ซึ่งเป็นสมุนไพรไทยที่นิยมปลูกทั่วไปในบ้านเรา โดยมีถื่นกำเนิดในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา และไทย
ตะไคร้เป็นทั้งยารักษาโรคและยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ฯลฯ

สรรพคุณของตะไคร้
  1. มีส่วนช่วยในการขับเหงื่อ
  2. เป็นยาบำรุงธาตุไฟให้เจริญ (ต้นตะไคร้)
  3. มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร
  4. ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร (ต้น)
  5. สารสกัดจากตะไคร้มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
  6. แก้และบรรเทาอาการหวัด อาการไอ
  7. ช่วยรักษาอาการไข้ (ใบสด)
  8. ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ (ราก)
  9. น้ำมันหอมระเหยของใบตะไคร้สามารถบรรเทาอาการปวดได้
  10. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
  11. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ใบสด)
  12. ใช้เป็นยาแก้อาเจียนหากนำไปใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ (หัวตะไคร้)
  13. ช่่วยแก้อาการกษัยเส้นและแก้ลมใบ (หัวตะไคร้)
  14. รักษาโรคหอบหืดด้วยการใช้ต้นตะไคร้
  15. ช่วยแก้อาการเสียดแน่นแสบบริเวณหน้าอก (ราก)
  16. ใช้เป็นยาแก้อาการปวดท้องและอาการท้องเสีย (ราก)
  17. ช่วยแก้และบรรเทาอาการปวดท้อง
  18. ช่วยรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ (หัวตะไคร้)
  19. ช่วยในการขับน้ำดีมาช่วยในการย่อยอาหาร
  20. น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้มีส่วนช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ได้
  21. มีฤทธิ์ช่วยในการขับปัสสาวะ
  22. ช่วยแก้อาการปัสสาวะพิการและรักษาโรคนิ่ว (หัวตะไคร้)
  23. ช่วยแก้อาการขัดเบา (หัวตะไคร้)
  24. ใช้เป็นยาแก้ขับลม (ต้น)
  25. ช่วยรักษาอหิวาตกโรค
  26. ช่วยแก้ลมอัมพาต (หัวตะไคร้)
  27. ใช้เป็นยารักษาเกลื้อน (หัวตะไคร้)
  28. น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ สามารถช่วยต่อต้านเชื้อราบนผิวหนังได้เป็นอย่างดี
  29. ช่วยแก้โรคหนองใน หากนำไปผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น

ประโยชน์ของตะไคร้

  1. นำมาใช้ทำเป็นน้ำตะไคร้หอม น้ำตะไคร้ใบเตย ช่วยดับร้อนแก้กระหายได้เป็นอย่างดี
  2. ช่วยในการบำรุงและรักษาสายตา
  3. มีส่วนช่วยในการบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
  4. มีส่วนช่วยในการบำรุงสมองและเพิ่มสมาธิ
  5. สามารถนำมาใช้ทำเป็นยานวดได้
  6. ช่วยแก้ปัญหาผมแตกปลาย (ต้น)
  7. มีฤทธิ์เป็นยาช่วยในการนอนหลับ
  8. การปลูกตะไคร้ร่วมกับผักชนิดอื่น ๆ จะช่วยป้องกันแมลงได้เป็นอย่างดี
  9. นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของสารระงับกลิ่นต่าง ๆ
  10. ต้นตะไคร้ช่วยดับกลิ่นคาวหรือกลิ่นคาวของปลาได้เป็นอย่างดี
  11. กลิ่นหอมของตะไคร้สามารถช่วยไล่ยุงและกำจัดยุงได้เป็นอย่างดี
  12. เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์จำพวกยากันยุงชนิดต่าง ๆ เช่น ยากันยุงตะไคร้หอม
  13. สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายชนิด เช่น เครื่องปรุงอบแห้ง ตะไคร้แห้งสำหรับชงดื่ม นำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย เป็นต้น
  14. มักนิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารหลายชนิด เช่น ต้มยำ และอาหารไทยอื่น ๆ เพื่อเพิ่มรสชาติ

วิธีทําน้ําตะไคร้หอม

  1. เตรียมวัตถุดิบดังนี้ ตะไคร้ 1 ต้น / น้ำเชื่อม 15 กรัม / น้ำเปล่า 240 กรัม
  2. ล้างตะไคร้ให้สะอาด แล้วนำมาหั่นเป็นท่อน ทุบให้แตก
  3. ใส่ลงหม้อต้มกับน้ำให้เดือด จนกระทั่งน้ำตะไคร้ออกมาปนกับน้ำจนเป็นสีเขียว
  4. รอสักครู่แล้วยกลง หลังจากนั้นกรองเอาตะไคร้ออกแล้วเติมน้ำเชื่อมให้ได้รสตามพอใจ
เสร็จแล้ววิธีทำน้ำตะไคร้

วิธีทําน้ําตะไคร้ใบเตย

  1. การทําน้ําตะไคร้ใบเตยนั้นอย่างแรกให้เตรียมวัตถุดิบดังนี้ ตะไคร้ 2 ต้น / ใบเตย 3 ใบ / น้ำ 1-2 ลิตร / น้ำตาลแดง 2 ช้อนชา (จะใส่หรือไม่ก็ได้)
  2. นำตะไคร้มาทุบให้แหลกพอประมาณ แล้วใช้ใบเตยมัดตะไคร้ไว้ให้เป็นก้อน
  3. ใส่ตะไคร้และใบเตยลงไปในหม้อแล้วเติมน้ำ 1 ถึง 2 ลิตร แล้วต้มให้เดือดสักประมาณ 5 นาที เป็นอันเสร็จสำหรับวิธีการทําน้ํา ตะไคร้
  4. โดยตะไคร้และใบเตยชุดเดียวกัน สามารถเติมน้ำต้มใหม่ได้ 2-3 รอบ แต่รสอาจจืดจางลงไปบ้าง นำมาดื่มแทนน้ำช่วยเพิ่มความสดชื่น แถมช่วยบำรุงสุขภาพอีกด้วย































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น