วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สรรพคุณของพืชผักสวนครัว




                                                       ประโยชน์ของพืชผัก
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
กุยช่าย
          เสน่ห์กุยช่ายอยู่ที่กลิ่น แต่คุณค่าทางอาหารอยู่ที่สีเขียวเข้มที่ชี้จะ ๆ ว่ากุยช่ายอุดมสารอาหาร ทั้งเบต้า-แคโรทีนที่ช่วยป้องกันมะเร็ง เหล็กที่ช่วยในการสร้างเม็ดเลือกแดง…ดอกกุยช่ายอาจด้อยค่ากว่าใบ แต่มีของดีที่กากใยอาหารช่วยให้ของเสียที่ต้องระบายออกจากร่างกายเคลื่อนย้ายได้สะดวก ลดโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ…ได้กลิ่นโชยมาเมื่อไรอย่าปล่อยให้กุยช่ายหลุด



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

คึ่นช่าย          คึ่นช่ายเหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องไต เพราะมีโซเดียมน้อย กินเท่าไรก็ปลอดภัยต่อไต คึ่นช่ายมีสารพิเศษที่ทำให้หลอดเลือดขยายตัว ช่วยลดความดันได้ กินสด ๆ ร่างกายได้รับวิตามินซี ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค เบต้า-แคโรทีนแท้สดจากคึ่นช่ายผัด ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และโรคหัวใจขาดเลือด รวมทั้งช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค น้ำมันที่ใช้ปรุงอาหารช่วยให้เบต้า-แคโรทีนทำงานได้ดีขึ้น




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บวบ
บวบ          สะอาดผิวใช้ใยบวบขัดผิว ร่างกายภายในสะอาด กินบวบเนื้อผลบวบที่กินเ็ป็นผักมีแร่ธาตุมาก วิตามินน้อย เนื้อบวบสะอาด ดูสะอาด เขียวใส หวานนิด ๆ ตามธรรมชาติ และไม่ค่อยปนเปื้อนด้วยยาฆ่าแมลง เพราะบวบไม่ค่อยมีแมลงรบกวน บวบต้มจิ้มน้ำพริกอร่อยได้ด้วยการต้มทั้งเปลือก ถ้าเป็นบวบเหลี่ยมก็ปาดเหลี่ยมลบคมออกแล้วต้ม เปลือกบวบจะช่วยกันไม่ให้สารอาหารในลูกบวบเสียไปในการต้ม


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผักกระเฉด


ผักกระเฉด
          ผักกระเฉดยำเ็ป็นอาหารของคออาหารรสจัด สังเกตให้ดี ยำผักกระเฉดนี้ปรุงจากผักกระเฉดลวก ทำให้ยังมีคุณค่าอาหารอยู่มาก วิตามินซีที่ช่วยให้เนื้อเยื่อในร่างกายแข็งแรงเสียไปมากกว่าเพื่อนเมื่อลวกผัก เบต้า-แคโรทีนที่ร่างกายนำไปสร้างวิตามินเอ เพื่อสายตาดี เสียไปร้อยละ 5-10 เมื่อลวกผักไม่เกิน 3 นาที นอกจากสารอาหารที่กล่าวถึงแล้ว กากใยอาหารในผักกระเฉดยังช่วยให้ระบบการส่งออกของเสียสะดวก


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พริก

พริก          พริกเผ็ดอย่างดุเดือด เผ็ดไม่เหมือนผักไหน คนไทยขาดพริกไม่ได้ ทีนี้ความเผ็ดกำลังระบือไกล เพราะพริกเผ็ด เพราะแคปไซซินซึ่งเป็นตัวจับสารก่อมะเร็ง ไม่ให้ไปจับเซลล์ดี ๆ ในตัวเรา ความเผ็ดร้อนจึงไม่เผ็ดร้าย แต่เผ็ดดี…นอกเหนือจากการกันมะเร็งแล้ว พริกช่วยให้เลือดลมไหลเวียน ช่วยไม่ให้เลือดจับตัวเป็นลิ่มขวางทางเดินเลือด พริกแห้งป่นหรือพริกสดทำหน้าที่ รปภ. ของร่างกายได้เสมอกัน


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขมิ้น


ขมื้น
          อาหารของชาวพื้นเมืองในอินเดียทำให้คนกินไม่เป็นมะเร็ง เพราะขมิ้น ขมิ้นเดียวกับที่เรารู้จัก ขมิ้นชันสีเหลือง ขมิ้นขาวสีตามชื่อคู่ครัวไทยมานาน เป็นอาหารที่เราไม่ต้องฝืนกิน เพราะถูกปากถูกใจอยู่แล้ว ชอบกินผักสดแกล้มยำ แกล้มอาหารเผ็ด ต้องขมิ้นขาวอ่อน ๆ เคี้ยวแล้วอยากจะเคี้ยวอีก สะใจกราม และช่วยให้สบายท้อง ที่ิยิ่งไปกว่านั้นคือ มะเร็งแพ้ขมิ้นชันสีเหลืองสวยที่เราคุ้นเคย



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ใบย่านาง
ใบย่านาง          ใบย่านางใช้สยบความขมของผักอื่น เช่น ขี้เหล้ก และหน่อไม้ ใบย่านางไม่ได้มีบทบาทในฐานะแหล่งธาตุอาหาร แต่ช่วยทำให้อาหารผักชนิดอื่นอร่อยขึ้น ถ้ากินซุบหน่อไม้แล้วพบว่าไม่ขมแสดงว่าแม่ครัวมื้อนั้นมือดี ใช้ผักได้ฉลาดเหนือชั้น เลือกใช้ใบย่านาง มาเพิ่มรสชาติให้หน่อไม้ ที่หากปรุงธรรมดามักขื่นลิ้น ใบย่านางเป็นผักล่องหน เพราะเมื่อใช้ก็ใ้ช้เพียงน้ำต้มใบใส่ในอาหาร



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มะเขือพวง
มะเขือพวง          มะเขือพวงเป็นผักที่จัดจานรวมกับผักแกล้มอื่น ๆ ได้สวย สวยเพราะสีเขียว และสวยเพราะเป็นลูกเล็ก ๆ ในผลกลมน่ารัก มะเขือพวงมีแร่ธาตุที่ดีต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เพิ่มจากนี้มะเขือพวงยังช่วยให้เจริญอาหารและช่วยลดความดันเลือดได้ ความอร่อยของมะเขือพวงส่วนหนึ่งอยู่ที่เมื่อเคี้ยวมะเขือพวงเราได้ความกรุบกรับ อร่อยสนุก ๆ และมีคุณค่าทางอาหาร







วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สะนะแหน่สารพัดประโยชน์

สะระแหน่ สรรพคุณและประโยชน์ของสะระแหน่ 41 ข้อ !

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สะระแหน่

สะระแหน่

สะระแหน่ ชื่อสามัญ Kitchen Mint, Marsh Mint
สะระแหน่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Mentha × villosa Huds. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Mentha × cordifolia Opiz ex Fresen.) จัดอยู่ในวงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)
สมุนไพรสะระแหน่ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หอมด่วน หอมเดือน (ภาคเหนือ), ขะแยะ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), สะระแหน่สวน (ภาคกลาง), มักเงาะ สะแน่ (ภาคใต้) เป็นต้น
มีแหล่งกำเนิดในแถบทวีปยุโรปตอนใต้และในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ลักษณะใบจะคล้ายคลึงกับพืชในตระกูลมิ้นต์มาก มีกลิ่นหอมคล้ายมะนาว รสชาติจะคล้าย ๆ กับตะไคร้หอมและมะนาว
สะระแหน่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ หลายชนิด เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น และยังให้พลังงาน 47 กิโลแคลอรี่ (ใน 100 กรัม) โดยใบสะระแหน่นั้นควรเลือกใช้ใบสดและยอดอ่อนจะได้สรรพคุณที่ดีกว่าใบแห้ง

ประโยชน์ของสะระแหน่

  1. ช่วยให้ผิวชุ่มชื้นด้วยการนำใบสะระแหน่มาบดแล้วนำมาทาผิว
  2. สะระแหน่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระออกจากร่างกาย
  3. ใช้เป็นยาเย็น ดับร้อน และขับเหงื่อในร่างกาย
  4. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
  5. ช่วยลดรอยคล้ำใต้ตาด้วยการนำใบสะระแหน่มาบดให้ละเอียดโดยเติมน้ำระหว่างบดด้วยเล็กน้อย แล้วใส่น้ำผึ้งตามลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำมาทาใต้ตาทิ้ง ไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก
  6. ช่วยบรรเทาอาการเครียด
  7. ช่วยรักษาอาการปวดศีรษะ ไมเกรน ช่วยให้สมองปลอดโปร่ง โล่งคอ ด้วยการดื่มน้ำใบสะระแหน่ 5 กรัมกับน้ำ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย วันละ 2 ครั้ง
  8. ช่วยแก้อาการหน้ามืดตาลาย ด้วยการดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่กับขิงสด
  9. ช่วยบรรเทาอาการและแก้หวัด น้ำมูกไหล อาการไอ
  10. ช่วยรักษาโรคหอบหืด
  11. ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  12. ช่วยให้หัวใจแข็งแรง
  13. ช่วยรักษาอาการอ่อนเพลียของร่างกาย
  14. ช่วยห้ามเลือดกำเดาไหลได้ ด้วยการใช้สำลีชุบน้ำที่คั้นจากใบสะระแหน่ หยอดที่รูจมูก
  15. ช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน เจ็บปาก เจ็บลิ้น ปวดคอ ด้วยการดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่
  16. ช่วยแก้แผลในปากด้วยน้ำสะระแหน่ ด้วยการดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่
  17. ช่วยรักษาและบรรเทาอาการปวดหู ด้วยการใช้น้ำคั้นจากใบสะระแหน่มาหยอดที่รูหู
  18. ช่วยระงับกลิ่นปากได้อีกด้วย
  19. ช่วยขับลมในลำไส้และช่วยในการย่อยอาหาร
  20. ช่วยรักษาอาการท้องร่วง ปวดท้อง อาการบิด ด้วยการดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่
  21. ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
  22. ช่วยแก้อาการจุกเสียดในท้องเด็ก ด้วยการใช้ใบสะระแหน่ตำให้ละเอียดผสมกับยาหอมแล้วนำมากวาดคอเด็ก
  23. ประโยชน์ของสะระแหน่ช่วยลดอาการหดเกร็งของลำไส้
  24. ช่วยรักษาอาการอุจจาระเป็นเลือด ด้วยการดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่
  25. ช่วยผ่อนคลายความกดดันของกล้ามเนื้อซึ่งมาจากความเหนื่อยล้า
  26. กลิ่นของใบสะระแหน่ช่วยในการไล่ยุงและแมลงต่าง ๆ ด้วยการนำใบมาบดแล้วนำมาทาที่ผิว
  27. ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์
  28. ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ด้วยการนำใบสะระแหน่มาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณที่โดนกัด
  29. ช่วยระงับอาการปวดได้ดีกว่ายาแก้ปวด
  30. ช่วยแก้อาการปวดบวม ผดผื่นคัน ด้วยการนำใบมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณดังกล่าว
  31. นำไปทำเป็นยาปฏิชีวนะได้
  32. ช่วยยับยั้งเชื้อโรคต่าง ๆ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
  33. นำไปใช้ทำเป็นน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ทำการบำบัดโดยใช้กลิ่น (อโรมาเธอราพี)
  34. มักใช้เป็นส่วนผสมในการทำไอศกรีม ชาสมุนไพร
  35. ใช้เป็นส่วนผสมในอาหารกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ
  36. นิยมนำมาใช้ในการปรุงอาหารหรือรับประทานสด ๆ ควบคู่ไปกับลาบ น้ำตก เป็นต้น
  37. ช่วยเพิ่มกลิ่นหอมให้อาหาร ชวนให้น่ารับประทานยิ่งขึ้น
  38. ใบสะระแหน่ช่วยลดกลิ่นคาวของอาหารอย่างลาบ ยำ และพล่าได้
  39. ใช้ในการแต่งกลิ่นเครื่องดื่มต่าง ๆและเหล่าได้
  40. ใช้เป็นเครื่องเคียงในอาหารจำพวกผลไม้สด ขนมหวาน
  41. สะระแหน่ สามารถนำมาสกัดเอาสารเพื่อใช้ในการทำเป็นลูกอม หมากฝรั่งรสมิ้นต์ ชาสะระแหน่




















ประโยชน์ของตะไคร้

ตะไคร้ สรรพคุณและประโยชน์ของตะไคร้ 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตะไคร้

ตะไคร้

ตะไคร้ ชื่อสามัญ Lemongrass
ตะไคร้ ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf จัดอยู่ในวงศ์หญ้า (POACEAE หรือ GRAMINEAE)
ตะไคร้จัดเป็นพืชล้มลุกตระกูลหญ้า ใบมีลักษณะเรียวยาว ปลายใบมีขนหนาม เป็นสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาประกอบอาหาร โดยตะไคร้แบ่งออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ ซึ่งเป็นสมุนไพรไทยที่นิยมปลูกทั่วไปในบ้านเรา โดยมีถื่นกำเนิดในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา และไทย
ตะไคร้เป็นทั้งยารักษาโรคและยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ฯลฯ

สรรพคุณของตะไคร้
  1. มีส่วนช่วยในการขับเหงื่อ
  2. เป็นยาบำรุงธาตุไฟให้เจริญ (ต้นตะไคร้)
  3. มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร
  4. ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร (ต้น)
  5. สารสกัดจากตะไคร้มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
  6. แก้และบรรเทาอาการหวัด อาการไอ
  7. ช่วยรักษาอาการไข้ (ใบสด)
  8. ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ (ราก)
  9. น้ำมันหอมระเหยของใบตะไคร้สามารถบรรเทาอาการปวดได้
  10. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
  11. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ใบสด)
  12. ใช้เป็นยาแก้อาเจียนหากนำไปใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ (หัวตะไคร้)
  13. ช่่วยแก้อาการกษัยเส้นและแก้ลมใบ (หัวตะไคร้)
  14. รักษาโรคหอบหืดด้วยการใช้ต้นตะไคร้
  15. ช่วยแก้อาการเสียดแน่นแสบบริเวณหน้าอก (ราก)
  16. ใช้เป็นยาแก้อาการปวดท้องและอาการท้องเสีย (ราก)
  17. ช่วยแก้และบรรเทาอาการปวดท้อง
  18. ช่วยรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ (หัวตะไคร้)
  19. ช่วยในการขับน้ำดีมาช่วยในการย่อยอาหาร
  20. น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้มีส่วนช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ได้
  21. มีฤทธิ์ช่วยในการขับปัสสาวะ
  22. ช่วยแก้อาการปัสสาวะพิการและรักษาโรคนิ่ว (หัวตะไคร้)
  23. ช่วยแก้อาการขัดเบา (หัวตะไคร้)
  24. ใช้เป็นยาแก้ขับลม (ต้น)
  25. ช่วยรักษาอหิวาตกโรค
  26. ช่วยแก้ลมอัมพาต (หัวตะไคร้)
  27. ใช้เป็นยารักษาเกลื้อน (หัวตะไคร้)
  28. น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ สามารถช่วยต่อต้านเชื้อราบนผิวหนังได้เป็นอย่างดี
  29. ช่วยแก้โรคหนองใน หากนำไปผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น

ประโยชน์ของตะไคร้

  1. นำมาใช้ทำเป็นน้ำตะไคร้หอม น้ำตะไคร้ใบเตย ช่วยดับร้อนแก้กระหายได้เป็นอย่างดี
  2. ช่วยในการบำรุงและรักษาสายตา
  3. มีส่วนช่วยในการบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
  4. มีส่วนช่วยในการบำรุงสมองและเพิ่มสมาธิ
  5. สามารถนำมาใช้ทำเป็นยานวดได้
  6. ช่วยแก้ปัญหาผมแตกปลาย (ต้น)
  7. มีฤทธิ์เป็นยาช่วยในการนอนหลับ
  8. การปลูกตะไคร้ร่วมกับผักชนิดอื่น ๆ จะช่วยป้องกันแมลงได้เป็นอย่างดี
  9. นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของสารระงับกลิ่นต่าง ๆ
  10. ต้นตะไคร้ช่วยดับกลิ่นคาวหรือกลิ่นคาวของปลาได้เป็นอย่างดี
  11. กลิ่นหอมของตะไคร้สามารถช่วยไล่ยุงและกำจัดยุงได้เป็นอย่างดี
  12. เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์จำพวกยากันยุงชนิดต่าง ๆ เช่น ยากันยุงตะไคร้หอม
  13. สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายชนิด เช่น เครื่องปรุงอบแห้ง ตะไคร้แห้งสำหรับชงดื่ม นำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย เป็นต้น
  14. มักนิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารหลายชนิด เช่น ต้มยำ และอาหารไทยอื่น ๆ เพื่อเพิ่มรสชาติ

วิธีทําน้ําตะไคร้หอม

  1. เตรียมวัตถุดิบดังนี้ ตะไคร้ 1 ต้น / น้ำเชื่อม 15 กรัม / น้ำเปล่า 240 กรัม
  2. ล้างตะไคร้ให้สะอาด แล้วนำมาหั่นเป็นท่อน ทุบให้แตก
  3. ใส่ลงหม้อต้มกับน้ำให้เดือด จนกระทั่งน้ำตะไคร้ออกมาปนกับน้ำจนเป็นสีเขียว
  4. รอสักครู่แล้วยกลง หลังจากนั้นกรองเอาตะไคร้ออกแล้วเติมน้ำเชื่อมให้ได้รสตามพอใจ
เสร็จแล้ววิธีทำน้ำตะไคร้

วิธีทําน้ําตะไคร้ใบเตย

  1. การทําน้ําตะไคร้ใบเตยนั้นอย่างแรกให้เตรียมวัตถุดิบดังนี้ ตะไคร้ 2 ต้น / ใบเตย 3 ใบ / น้ำ 1-2 ลิตร / น้ำตาลแดง 2 ช้อนชา (จะใส่หรือไม่ก็ได้)
  2. นำตะไคร้มาทุบให้แหลกพอประมาณ แล้วใช้ใบเตยมัดตะไคร้ไว้ให้เป็นก้อน
  3. ใส่ตะไคร้และใบเตยลงไปในหม้อแล้วเติมน้ำ 1 ถึง 2 ลิตร แล้วต้มให้เดือดสักประมาณ 5 นาที เป็นอันเสร็จสำหรับวิธีการทําน้ํา ตะไคร้
  4. โดยตะไคร้และใบเตยชุดเดียวกัน สามารถเติมน้ำต้มใหม่ได้ 2-3 รอบ แต่รสอาจจืดจางลงไปบ้าง นำมาดื่มแทนน้ำช่วยเพิ่มความสดชื่น แถมช่วยบำรุงสุขภาพอีกด้วย































สรรพคุณของค่า


                       



         

                                                                                                                                                                                  ข่า                                      
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ข่า

 "ข่า" เครื่องเทศสมุนไพรเก่าแก่ ที่คนไทยทั้งกินทั้งใช้กันมานานนับร้อยนับพันปี

มีชื่อสามัญที่ฝรั่งใช้เรียก คือ alanga ginger หรือ alanga alangal บางครั้งก็เรียกตามเราว่า kha หรือ ka ด้วย แสดงให้เห็นว่า "ข่า" เป็นสมุนไพรที่เกี่ยวพันกับคนไทยอย่างแน่นแฟ้น จนฝรั่งต้องตั้งชื่อตามเลยทีเดียว เราสามารถพูดอย่างภาคภูมิใจได้ว่า เรื่องการใช้ข่าแล้ว ไม่มีใครเก่งเท่าคนไทย


          การใช้ "ข่า" เป็นเครื่องเทศ คนไทยนิยมใช้มากกว่าขิง อาจเพราะข่าปลูกขึ้นง่าย ทนทานไม่ต้องการการดูแลอะไรมากนัก มีอายุยืนยาว ไม่มีการลงหัว สามารถขุดมากินมาใช้ได้ตลอดปี ดังนั้น คนไทยจึงมีการกินและใช้ข่าในหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่เป็นทั้งเครื่องเทศดับกลิ่นคาว โดยใช้หัวข่าใส่ในต้มยำ ต้มข่า ต้มแซ่บ ใส่ในหม้อก๋วยเตี๋ยว เครื่องแกง น้ำพริกต่าง ๆ นอกจากนี้ เรายังกินหน่อข่า ดอกข่า เป็นผักแกล้ม ใส่ในข้าวยำของคนใต้ โดยใช้ใบข่าซอยใส่ลงไปหรือคั้นน้ำจากใบใส่ลงไปด้วย เป็นต้น


          ในทางยา "ข่า" มีรสเผ็ดปร่า มีน้ำมันหอมระเหย มีกลิ่นหอมฉุนแรง คนไทยใช้ข่าเป็นยารักษาอาการเจ็บป่วยในแทบทุกระบบของร่างกาย


ระบบทางเดินอาหาร

          ข่าช่วยย่อย ช่วยขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ลมป่วง แก้บิด ขับน้ำดี แก้สะอึก ดังนั้น ข่าจึงเป็นเครื่องเทศหลักคู่ครัวไทยเป็นสมุนไพรที่จะไปบำรุงไฟธาตุ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของความแข็งแรงของร่างกาย ในกรณีที่จุกเสียดท้อง ปวดท้อง สามารถนำข่ามาทำเป็นยาผง ยาลูกกลอน ยาต้ม ยาชงกินก็ได้ หรือจะนำข่ามาตำ หรือฝนกับเหล้าหรือน้ำปูนใสกินเพื่อรักษาอาการดังกล่าวก็ได้ผลดียิ่ง


ระบบทางเดินหายใจ

          ข่าช่วยแก้ไอ แก้หวัด ลดน้ำมูก แก้หอบหืดได้เช่นเดียวกับขิง เนื่องจากการที่มีรสร้อน จึงเหมาะที่จะปราบหวัดที่มากับหน้าหนาวได้เป็นอย่างดี คนสมัยก่อนนิยมนำข่ามาต้มน้ำ เป็นยากินเพื่อแก้หวัดลดน้ำมูก ในส่วนของการใช้แก้ไอ นิยมฝนข่ากับน้ำผึ้งกินเพื่อกัดเสลด โดยอาจเจือน้ำมะนาวกับเกลือลงไปเล็กน้อย นอกจากนี้ข่ายังช่วยขยายหลอดลมได้อีกด้วย

ระบบหัวใจและหลอดเลือด

          ข่าเป็นยาร้อนทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี มีกำลังวังชา ช่วยขับเลือดเสียในหญิงหลังคลอด ช่วยขับเหงื่อ

ระบบประสาท

          ข่าช่วยลดอาการปวด ไม่ว่าจะแก้ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ปวดฟัน รำมะนาด ปวดท้อง ปวดท้องประจำเดือน รวมทั้งอาการปวดบวม ซึ่งถ้ามีอาการเท้าแพลง ปวดกล้ามเนื้อ คนสมัยก่อนจะตำข่ามาพอกบริเวณที่มีอาการข่าเป็นส่วนประกอบสำคัญของยากิน ยาประคบ อบ อาบ พอก เพื่อแก้อาการปวดและลดการอักเสบ
             ถึงแม้จะไม่มีสมุนไพรตัวอื่น ๆ เลย แต่ขอให้มีข่าตัวเดียวก็ใช้ได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น การทำตำรับยาแก้เมื่อย ลุกไม่ได้ จะใช้ข่ามาตำ เอาน้ำมวก (น้ำที่เหลือจากการแช่ข้าวเหนียวก่อนนำไปนึ่ง) เป็นน้ำคั้น แล้วเอาไปทาตามเส้นของผู้ป่วย

ระบบผิวหนัง
          
          ข่าแก้ลมพิษ แก้ผดผื่นคัน แก้กลากเกลื้อน แมลงสัตว์กัดต่อย พิษแมลงมุม เป็นต้น ซึ่งการใช้ข่าในด้านนี้ ต้องเป็นข่าแก่เท่านั้นจึงจะได้ผลดี

          เรื่องของข่าแก้ลมพิษนี้ เป็นที่รู้กันดีในหมู่คนไทย โดยจะใช้ข่าแก่ตำใส่เหล้าขาวทาบริเวณที่เป็น แต่สำหรับการรักษาแมลงสัตว์กัดต่อยแล้ว นิยมฝนกับน้ำมะนาวทา แต่การใช้ข่าทางผิวหนังต้องมีข้อควรระวังอยู่บ้าง เนื่องจากบางคนแพ้ข่า โดยเมื่อทาแล้วถ้ามีอาการแสบร้อนก็ต้องหยุดใช้ทันที


          นอกจากการใช้เป็นยาข้างต้นแล้ว ข่ายังใช้เป็นสมุนไพรฆ่าแมลงในแปลงผักได้อย่างปลอดภัย ช่วยดับกลิ่น ทั้งกลิ่นเหม็น กลิ่นคาว และกลิ่นตัวได้อย่างน่าทึ่ง ในสมัยก่อนถ้าใครมีกลิ่นตัว เขาจะแนะนำให้ใช้ข่าทั้ง ๕ ต้มอาบ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรก็ได้มีการนำข่ามาทำเป็นเสปรย์ข่าดับกลิ่นเท้าที่ช่วยแก้ปวดเมื่อได้อีกแรงผสมไปกับการนวดที่แผนกแพทย์แผนไทย


          ปัจจุบันมีการวิจัยพบว่า ข่ามีสรรพคุณแก้ปวดแก้อักเสบที่ดีมาก และยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง ต้านเนื้องอก ขยายหลอดลมน้ำมันหอมระเหยในข่ามีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและรา ซึ่งเป็นหลักฐานสนับสนุนสรรพคุณทางยาของข่าตามที่คนไทยใช้กันมาแต่โบราณ




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประโยชน์ของข่า


























วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

สรรพคุณของผัก



     ต้นผักหนาม จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีลักษณะเป็นเหง้าแข็งอยู่ใต้ดินทอดเลื้อย ทอดขนานกับพื้นดิน ตั้งตรงและโค้งลงเล็กน้อย ชูยอดขึ้น ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 เซนติเมตร และยาวได้ประมาณ 75 เซนติเมตร ตามลำต้นมีหนามแหลม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย ทางตอนใต้ของประเทศจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงอินโดนีเซีย ในประเทศพบได้ตามแหล่งธรรมชาติทั่วทุกภาค ชอบดินร่วน ความชื้นมาก และแสงแดดแบบเต็มวัน มักขึ้นในที่ชื้นแฉะมีน้ำขัง เช่น ตาน้ำ ริมคู คลอง หนอง บึง ตามร่องน้ำในสวน หรือบริเวณดินโคลนที่มีน้ำขังผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผักหนาม 



    สรรพคุณของผักหนาม
1 ชาวไทใหญ่จะใช้ทั้งต้นรวมกับไม้เปาและไม้จะลาย นำไปต้มอาบและดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อย
ลำต้นผักหนาม มีรสเผ็ดชา ใช้เป็นยาแก้ไอ แก้กระหายน้ำ ขับเสมหะ 
รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้เจ็บคอ
รากและใบมีสรรพคุณเป็นยาขับเสมหะ
ตำรับยาแก้ผิวหนังเน่าเปื่อยเรื้อรัง เท้าเน่าเปื่อย หรือศีรษะเน่าเปื่อยเป็นแผลเรื้อรัง ให้ใช้ลำต้นผักหนามนำต้มเอาน้ำชะล้างหรือบดให้เป็นผงแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็น

ข้อควรระวัง : ใบ ก้านใบ และต้นผักหนามมีสารไซยาโนเจนิกไกลโคไซด์ (Cyanogenic. Glycosides) ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์ (สารพิษชนิดหนึ่ง) ได้ โดยเป็นสารพิษที่ออกฤทธิ์ต่อระบบการไหลเวียนของเลือด เมื่อได้รับพิษหรือรับประทานเข้าไปดิบ ๆ จะทำให้อาเจียน กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อกระตุก หายใจลำบาก มึนงง ไม่รู้ตัว ชักก่อนจะหมดสติ มีอาการขาดออกซิเจน ตัวเขียว ถ้าได้รับมากจะทำให้โคม่าภายใน 10-15 นาที และเสียชีวิตได้ เมื่อได้รับพิษจะต้องทำให้อาเจียนออกมา แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการล้างท้อง ดังนั้นก่อนนำมารับประทานจะต้องนำไปทำให้สุกหรือดองเปรี้ยวเพื่อกำจัดพิษไซยาไนด์เสียก่อน

   ผักหนามเป็นพืชผักที่กระจายพันธิ์ในอินเดียและทางใต้ของจีน พบได้ตามแหล่งธรรมชาติ ชอบดินร่วนและมีความชื้นมากมักขึ้นในที่ชื้น มีสรรพคุณต่อเรามากมาย แก้เมื่ิอย แก้ไอ เป็นต้น แต่ผักหนามก็มีทั้งคุณและโทษต่อเรา
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิธีการปลูกผักหนาม
เพิ่มคำอธิบายภาพ



มะกรูด สรรพคุณและประโยชน์ของมะกรูด 38 ข้อ 




มะกรูด
มะกรูด มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะขู (แม่ฮ่องสอน), มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ), ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้) เป็นต้น             หลาย ๆ ท่านคงคุ้นเคยกับมะกรูดเป็นอย่างดี เพราะเป็นสมุนไพรคู่ครัวไทpมาอย่างยาวนาน เพราะนิยมใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงที่จำเป็นอย่างขาดไม่ได้เลย ซึ่งโดยปกติแล้วเรามักจะนิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดมาเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากมะกรูด จะใช้เป็นเครื่องประกอบในอาหารต่าง ๆ แล้ว ก็ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านของความงามและในด้านของยาสมุนไพร นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นไม้มงคลที่นิยมปลูกไว้บริเวณบ้านอีกด้วย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข โดยจะปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
สารเคมีที่สำคัญที่พบได้ในผลมะกรูดก็คือน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีทั้งในส่วนของเปลือกผลหรือผิวมะกรูดและในส่วนของใบ โดยเปลือกผลจะมีน้ำมันหอมระเหยประมาณ 4% และในส่วนของใบนั้นจะมีน้ำมันหอมระเหยอยู่ประมาณ 0.08% และยังสกัดยากกว่าน้ำมันในเปลือกผลอีกด้วย แต่ก็ยังมีจุดเด่นตรงที่น้ำมันจากใบจะมีกลิ่นมากกว่านั่นเอง จึงนิยมใช้ทั้งน้ำมันมะกรูดทั้งจากใบและเปลือกผล ซึ่งน้ำมันหอมระเหยนี้ก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างและยังมีสรรพคุณเป็นยาอีกด้วย !
การใช้น้ำมันหอมระเหยมะกรูดมาใช้ทาภายนอกหลังจากทาแล้วภายใน 4 ชั่วโมง ไม่ควรให้ผิวหนังบริเวณที่ทานั้นสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง เพราะอาจจะทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นไหม้ได้

ประโยชน์ของมะกรูด

  1. ประโยชน์ของมะกรูด
    มะกรูดมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงและต้านทานโรค
  2. ประโยชน์ของมะกรูดช่วยทำให้เจริญอาหาร
  3. น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดมีสรรพคุณช่วยผ่อนคลายความเครียด คลายความกังวล ทำให้จิตใจสงบนิ่ง ด้วยการสูดดมผิวมะกรูดหรือน้ำมันมะกรูดจะช่วยได้ระดับหนึ่ง แต่การใช้ไม่ควรจะใช้ความเข้มข้นมากกว่า 1% เพราะอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองได้
  4. ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ด้วยการใช้ผิวมะกรูด รากชะเอม ไพล เฉียงพร้า ขมิ้นอ้อย ในปริมาณเท่ากัน นำมาบดเป็นผง นำมาชงละลายน้ำร้อนหรือต้มเป็นน้ำดื่ม
  5. สรรพคุณมะกรูดใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล)
  6. ช่วยแก้ลม หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ด้วยการใช้เปลือกมะกรูดฝานบาง ๆ ชงกับน้ำเดือดใส่การบูรเล็กน้อย แล้วนำมารับประทานแก้อาการ (เปลือกผล)
  7. ช่วยแก้อาการไอ ขับเสมหะ ด้วยการใช้ผลมะกรูดนำมาผ่าซีก เติมเกลือ นำไปลนไฟให้เปลือกนิ่ม แล้วบีบน้ำมะกรูดลงในคอทีละน้อย ๆ จะช่วยแก้อาการไอได้ สูตรนี้ก็สามารถใช้เป็นยาขับเสมหะได้ด้วยเช่นกัน
  8. สรรพคุณของใบมะกรูดสามารถใช้แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ช้ำในได้อีกด้วย
  9. ช่วยฟอกโลหิต ด้วยการนำผลมะกรูดสดมาผ่าเป็น 2 ซีกแล้วนำไปดองกับเกลือหรือน้ำผึ้งประมาณ 1 เดือน แล้วรินเอาแต่น้ำดื่ม จะช่วยฟอกโลหิตได้เป็นอย่างดี
  10. ใบมะกรูดมีสรรพคุณช่วยยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยต่อต้านมะเร็งได้ เนื่องจากใบมะกรูดนั้นอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน
  11. สรรพคุณของมะกรูดช่วยแก้เสมหะเป็นพิษ ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล, ราก)
  12. น้ำมะกรูดใช้แก้อาการเลือดออกตามไรฟันได้ โดยหลังแปรงฟันเสร็จให้ใช้น้ำมะกรูดถูบาง ๆ บริเวณเหงือก
  13. ใช้ปรุงเป็นยาช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการจุกเสียด ท้องอืด แน่นท้อง ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล)
  14. ช่วยแก้อาการปวดท้องหรือใช้เป็นยาแก้ปวดท้องในเด็กอ่อน ด้วยการนำผลมะกรูดมาคว้านไส้กลางออก นำมหาหิงคุ์ใส่และปิดจุก แล้วนำไปเผาไฟจนดำเกรียมและบดจนเป็นผงละลายกับน้ำผึ้งไว้รับประทานแก้อาการปวดได้ หรือจะนำมาป้ายลิ้นเด็กอ่อน ใช้เป็นยาขับขี้เทาก็ได้เช่นกัน
  15. ช่วยขับระดู ขับลม ด้วยการใช้ผลมะกรูดนำมาดองทำเป็นยาดองเปรี้ยวไว้รับประทานแก้อาการ
  16. สรรพคุณมะกรูด
    ช่วยกระทุ้งพิษ ช่วยรักษาฝีภายใน (ราก)
  17. มะกรูด สรรพคุณช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้เป็นอย่างดี
  18. น้ำมันมะกรูดมีฤทธิ์อ่อน ๆ ช่วยยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อได้
  19. ใช้สระผมเพื่อทำความสะอาด ทำให้ผมดกเงางาม ป้องกันผมหงอก แก้ปัญหาผมร่วง ความเปรี้ยวของน้ำมะกรูดยังมีฤทธิ์เป็นกรดช่วยขจัดคราบแชมพู หรือชำระล้างสิ่งอุดตันต่าง ๆ ตามรูขุมขนบนหนังศีรษะ แล้วยังทำให้ผมหวีง่ายอีกด้วย ด้วยการผ่ามะกรูดเป็น 2 ชิ้น เมื่อสระผมเสร็จ ให้เอามะกรูดสระผมซ้ำ ด้วยการใช้มะกรูดยีให้ทั่วบนผม แล้วล้างออก จะช่วยทำความสะอาดผมได้
  20. ช่วยล้างสารเคมีในเส้นผม เนื่องจากในแต่ละวันเราต้องโดนทั้งฝุ่นละออง แสงแดด ยาสระผม ซึ่งเป็นสาเหตุที่อาจทำให้ผมแห้งกรอบได้ แม้จะใช้ครีมนวดผมหรือทรีตเมนต์บำรุงและซ่อมแซมผมก็ตาม แต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังมีส่วนผสมของสารเคมีอยู่ สำหรับวิธีการปกป้องเส้นผมและล้างสารเคมีก็ง่าย เพียงแค่ใช้น้ำมะกรูดมาชโลมบนผมที่เปียกชุ่ม แล้วหมักทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด แล้วล้างซ้ำอีกรอบด้วยน้ำเย็นจะทำให้ผมเงางามและมีน้ำหนักขึ้น และยังช่วยถนอมเส้นผมและบำรุงเส้นผมไปในตัวอีกด้วย
  21. ใช้รักษารังแคและชันนะตุ ด้วยการนำมะกรูดมาเผาไฟ นำมาผ่าเป็นซีกแล้วใช้สระผม จะช่วยรักษาอาการชันนะตุได้
  22. ใช้ผสมเป็นน้ำอาบเพื่อทำความสะอาด ช่วยทำให้ผิวไม่แห้ง ด้วยการนำมะกรูดมาผ่าซีกลงในหม้อต้มเป็นน้ำอาบ
  23. มีอาหารบางชนิดที่นิยมใช้น้ำมะกรูดเป็นส่วนผสม
  24. ประโยชน์ของใบมะกรูด เนื่องจากน้ำมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก มีกลิ่นฉุน สามารถนำไปใช้ไล่แมลงบางชนิดได้ เช่น มอดและมดในข้าวสาร ด้วยการใช้ใบมะกรูดสด ๆ ประมาณ 4-5 ใบต่อข้าว 1 ถัง แล้วฉีกใบเป็น 2 ส่วนให้กลิ่นออก แล้วใส่ลงในถังข้าวสาร เมื่อใบมะกรูดแห้งแล้วก็ให้เปลี่ยนใบใหม่ เพียงแค่นี้ก็จะไม่มีแมลงมอดมากวนใจท่านแล้วครับ
  25.    มะกรูดสามารถใช้ในการไล่ยุงและกำจัดลูกน้ำได้ เมื่อทานหรือคั้นเอาน้ำแล้วก็อย่าทิ้งเปลือก ให้นำเปลือกมาตากแห้งและเผาไฟจะช่วยไล่ยุงได้ดีนัก (เปลือกผล)
  26. ในปัจจุบันมีการผลิตน้ำมันหอมระเหยในรูปแบบแคปซูลเพื่อใช้ไล่แมลงและหนอนสำหรับเกษตรกร ด้วยการใช้โปรยไว้ใต้ต้นไม้ที่ต้องการไล่แมลง แคปซูลก็จะค่อย ๆ ปล่อยน้ำมันออกมา แถมยังไม่มีอันตรายอีกด้วย
  27. น้ำมันจากใบมะกรูดมีส่วนช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อราบางชนิด เช่น ช่วยกระตุ้นการสร้างเส้นใยของราพวกมูเคอร์ แอสเปอร์จิลลัส อัลเทอร์นาเรีย และกระตุ้นการสร้างสปอร์ของแอสเปอร์จิลลัส
  28. ประโยชน์ใบมะกรูด ใบมะกรูดและน้ำมะกรูดสามารถใช้ดับกลิ่นคาวในอาหารได้
  29.   ใช้ในการประกอบอาหารและแต่งกลิ่นคาวหวานของอาหาร เช่น ต้มยำ แกงเผ็ด ผัดเผ็ด ฉู่ฉี่ ห่อหมก ทอดมัน โรยหน้าข้าวเหนียวหน้ากุ้ง ฯลฯ
  30.   น้ำมะกรูดสามารถใช้แทนน้ำมะนาว หรือใช้ร่วมกับมะนาวได้ จะได้รสเปรี้ยวและความหอมของน้ำมันหอมระเหยที่ผิวมะกรูดเพิ่มขึ้นไปด้วย
  31.    มะกรูดยังใช้ในพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งระบุไว้ว่าจะต้องมีผลมะกรูดและใบส้มป่อยในการประกอบพิธี
  32.  ยาฟอกเลือดสตรี ขับระดู ยาบำรุงประจำเดือน หรือยาแก้ผอมแห้งแรงน้อย มักจะมีมะกรูดอยู่ในตำรับยาเสมอ
  33.    มีการนำเปลือกของมะกรูดมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบางชนิด อย่างเช่น สบู่ แชมพูมะกรูดหรือยาสระผมมะกรูด ผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงและแมลง เป็นต้น
  34.   หากถูกปลิงกัด ไม่ควรดึงออก เพราะจะทำให้แผลฉีกขาดและเลือดจะไหลไม่หยุด แต่วิธีที่ควรทำในเบื้องต้นให้ใช้น้ำมะกรูดมาราดใส่ตรงที่ถูกปลิงเกาะ ก็จะทำให้ปลิงหลุดออกมาเอง
  35. มะกรูด
      มะกรูดประโยชน์ช่วยแก้ปัญหากลิ่นเท้าเหม็น มีกลิ่นอับเชื้อรา ด้วยสูตรมะกรูด ขิง ข่า เกลือ อย่างละเท่า ๆ กัน นำมาต้มรอให้อุ่นสักนิดแล้วแช่เท้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีก็จะช่วยลดกลิ่นอับแถมยังคลายความปวดเมื่อยได้อีกด้วย
  36.   ประโยชน์มะกรูดช่วยดูดกลิ่นในรองเท้าหรือตู้รองเท้า ด้วยการใช้ผิวมะกรูด ตะไคร้หอม ถ่านป่น และสารส้ม อย่างละ 1 ส่วน นำมาใส่ถุงที่ทำจากผ้าขาวบางหรือผ้าที่มีช่องระบายอากาศ แล้วนำไปใส่ไว้ในตู้รองเท้าหรือในรองเท้า จะช่วยดูดกลิ่นได้อย่างหมดจดเลยทีเดียว
  37.    ช่วยทำความสะอาดคราบตามซอกเท้าเพื่อลดความหมักหมมด้วยการใช้สับปะรด 2 ส่วน, สะระแหน่ 1/2 ส่วน, น้ำมะกรูด 1/2 ส่วน, เกลือ 2 ส่วน นำมาปั่นรวมกันแล้วนำไปขัดเท้า
  38.   การอบซาวน่าสมุนไพรเพื่อขับสารพิษผ่านเหงื่อและรูขุมขน มักจะมีสมุนไพรที่ประกอบไปด้วย ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ไพล ตะไคร้ พิมเสน การบูร และผิวมะกรูดผสมอยู่ด้วย ซึ่งแต่ละตัวก็มีสรรพคุณในการช่วยขับสารพิษทั้งสิ้น